การศึกษา
พ.ศ. 2477 เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี
จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช
เพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา
ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส
ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ "โรงเรียนแห่งใหม่ของซืออีสโรมองด์"
(ฝ. ?cole Nouvelle de la Suisse Romande, เอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออีส
โรมองด์) เมืองแชลลี-ซูร์-โลซาน ฝ. Chailly-sur-Lausanne)
พ.ศ. 2477 เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่
8 แห่งราชวงศ์จักรี ก็ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช" เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478
เดือนพฤศจิกายน
พ.ศ. 2481 ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย
เป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์
จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน
แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ
พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
เสด็จขึ้นครองราชย์
วันที่ 9 มิถุนายน
พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน
โดยต้องพระแสงปืนที่พระกระหม่อม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน[9] สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้ตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์
เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา
จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม
แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์
ซึ่งจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศ
การตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไม่เพียงแต่ทำให้ประเทศไทยและคนไทยคลายความโศกเศร้า จากการที่ต้องเสียพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเท่านั้น
แต่ยังทำให้ประเทศไทยได้พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ที่ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่
ที่จะอุทิศพระวรกายและพระราชหฤทัยเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
เดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยว่า
จะทรงครองราชสมบัติเฉพาะในช่วงการจัดงานพระบรมศพของพระบรมเชษฐาเท่านั้น
เพราะยังทรงพระเยาว์และไม่เคยเตรียมพระองค์ในการเป็นพระมหากษัตริย์มาก่อน
เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับรถพระที่นั่งเ
สด็จพระราชดำเนินไปยังสนามบินดอนเมือง เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่สวิตเซอร์แลนด์
ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนลั่นว่า "ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน"
ทำให้ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว
ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้"[11] เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจว่าต่อมาอีกประมาณ
20 ปี ขณะทรงเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัด ทรงได้พบชายผู้ร้องตะโกนคนนั้น
ชายผู้นั้นกราบบังคมทูลว่า ที่เขาร้องตะโกนออกไปเช่นนั้นเพราะรู้สึกว้าเหว่และใจหาย
เขาเห็นพระพักตร์เศร้ามาก จึงร้องไปเหมือนคนบ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตอบว่า
"นั่นแหละ ทำให้เรานึกถึงหน้าที่ จึงต้องกลับมา"[
ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
หลังจากที่จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์
พระองค์เสด็จไปเยือนกรุงปารีส ทรงพบกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร
ซึ่งเป็นลูกสาวของเอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก[13]
โดยที่ตอนนั้นทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุเพียง 21 และ 15 พรรษาตามลำดับ
ในระหว่างประทับในต่างประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ขณะที่พระองค์ทรงขับรถเฟียส
ทอปอลิโน จากเจนีวาไปยังโลซาน ก็ได้ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
ได้เข้ารักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลในเมืองโลซาน โดย ม.ร.ว. สิริกิติ์
ได้มีโอกาสเยี่ยมเป็นประจำจนหายประชวร นับตั้งแต่นั้นมาทั้งสองพระองค์ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา
โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
วันที่ 5 พฤษภาคม
พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น
ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร
สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม
เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" และในโอกาสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินี
ทรงผนวช
เมื่อ พ.ศ. 2499
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่
22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมณนามว่า ภูมิพโลภิกขุ
และเสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร
ระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ในปีเดียว
เสด็จฯ
เยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ
ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2501 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในทุกภูมิภาค
(คือ ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันออก และ
ภาคใต้) และทุกจังหวัดในประเทศไทย เพื่อทรงศึกษาปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร
เพื่อทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์อย่างแท้จริง
เสด็จฯ เยือนต่างประเทศ
ในช่วงระหว่างปี
พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศทั่วโลก
ทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปออสเตรเลีย จำนวนถึง
27 ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรี กับบรรดามิตรประเทศทั้งหลาย
รวมถึงได้ทรงนำความปรารถนาดีของชาวไทย ไปมอบให้แก่ประชาชนในประเทศต่างๆ
เหล่านั้นด้วย
พระราชบุตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถมีพระราชโอรสและพระราชธิดาด้วยกันสี่พระองค์ตามลำดับดังต่อไปนี้
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา
สิริวัฒนาพรรณวดี (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา
สิริวัฒนาพรรณวดี; ประสูติ: 5 เมษายน 2494, สถานพยาบาลมงต์ชัวซี
เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อทรงสมรสกับนายปีเตอร์
เจนเซ่น ชาวอเมริกัน โดยมีพระโอรสหนึ่งองค์และพระธิดาสององค์ ทั้งนี้
คำว่า "ทูลกระหม่อมหญิง" เป็นคำเรียกพระราชวงศ์ที่มีพระชนนีเป็นสมเด็จพระบรมราชินี
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช
ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร;
ประสูติ: 28 กรกฎาคม 2495, พระที่นั่งอัมพรสถาน) ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ นางสุจาริณี วิวัชรวงศ์
และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ ตามลำดับ โดยมีพระโอรสหนึ่งพระองค์และสี่องค์
กับพระธิดาสองพระองค์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
(พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์;
ประสูติ: 2 เมษายน 2498, พระที่นั่งอัมพรสถาน)
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (ประสูติ: 4 กรกฎาคม
2500, พระที่นั่งอัมพรสถาน) ทรงอภิเษกสมรสกับนาวาอากาศเอก วีระยุทธ
ดิษยะศริน โดยมีพระธิดาสองพระองค์
|