ประวัติวัดเกรียงไกรเหนือ
ประวัติหลวงพ่อองค์ดำ
ประวัติหลวงปู่กลิ้ง สนฺติภูโต
ติดต่อวัด

   
หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์
เป้าหมาย
หลักสูตรและวิชาที่สอน
เปิดสอนในวันและเวลา
สถานที่ทำการสอน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โครงการต่างๆ

จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด
วัดปากน้ำแหลมสิงห์
อารามแห่งความดับทุกข์
 

ดังตฤณ
คือ ใคร

ในบรรดา “นักเขียน” ที่ไม่ใช่พระสงฆ์ เป็นฆราวาส แต่มีผลงาน- มีส่วนปลุกกระแส “หนังสือแนวธรรมะ-แนวหลักธรรม” ให้แพร่หลาย ในสังคมไทยได้มากขึ้น ต้องถือว่าชายคนนี้ นักเขียนเจ้าของผลงาน “เสียดาย...คนตายไม่ได้อ่าน” ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ยืนอยู่แถวหน้าได้อย่างสง่าผ่าเผย วันนี้ลองมาย้อนดูบางแง่มุมชีวิตจากวันวานจนถึงวันนี้ของนักเขียนที่ใช้นามปากกาว่า “ดังตฤณ”

หรือชื่อ-นามสกุลจริง “ศรันย์ ไมตรีเวช”

เจ้าของนามปากกา “ดังตฤณ” หรือ “ศรันย์ ไมตรีเวช” ชายในวัย 40 ปี คนนี้ ในวันที่ได้เจอใบหน้าดูสงบเย็น มีรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยไมตรีจิต เขาคนนี้ใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์มานานกว่า 20 ปีในแวดวงบรรณพิภพนี้

ศรันย์เล่าย้อนว่า เขาเป็นลูกคนที่สามของครอบครัว “ไมตรีเวช” เรียนจบปริญญาตรี Business Computer จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งชีวิตของตนได้ถูกวางแผนไว้แบบหนึ่ง แต่มีพัฒนาการ และค่อย ๆ คลี่คลายมาตามลำดับ เรื่อยมาจนกระทั่งมาเป็นอย่างทุกวันนี้ในปัจจุบัน

เขาบอกว่า เมื่อเกิดความสนใจเรื่องอะไร ไปรู้เรื่องอะไรที่รู้สึกว่าดี ใจก็จะอยากให้คนอื่นรู้ตาม และมีแรงทะยานที่จะถ่ายทอดสิ่งที่รู้และคิดว่าดี ให้แก่คนอื่นๆ

“ตอนแรกที่เกิดรู้สึกแบบนี้ขึ้นคือเมื่อ ป.6 คือไปอ่านอะไรมา แล้วรู้อะไร คิดอะไร ฝันอะไร ก็อยากให้เพื่อนรู้ตาม ก็เขียนนิยายแบบ เด็ก ๆ นิยายน้ำเน่า แจกจ่ายให้เพื่อนอ่านรอบห้อง แล้วก็รู้สึกดี มีความสุข ยิ่งคนอื่นอ่านแล้วบอกสนุกดี ขอยืมอ่านหน่อยนะ มีการจองคิว มันเป็นเรื่องสนุกสำหรับเราในวัยนั้นมาก ๆ และกลายเป็นพื้นฐานนิสัยตั้งแต่บัดนั้น”

ชีวิตเขาคนนี้มีพัฒนาการอีกครั้งในสมัยกำลังจะจบชั้นมัธยมปลาย ซึ่งเจ้าตัวบอกว่า เป็นก้าวสำคัญของชีวิต เมื่อตอนที่อายุ 16 ปี เรียนอยู่ชั้น ม.5 กำลังจะเอนทรานซ์ ก็เกิดคำถามกับชีวิต ซึ่งเด็กทั่วไปมักจะถามว่าจะเรียนอะไร แต่ตนเองมองข้ามช็อตไปว่า เรียนแล้วจบออกมาจะทำอะไร

“ความรู้สึกตอนนั้นคือ งง และสับสน เพราะไม่อยากจะทำงานอะไร ไม่อยากทำอาชีพขีด ๆ เขียน ๆ ไม่อยากจะนั่งโต๊ะ และตอบตัวเอง ไม่ได้ว่าเราอยากเป็นอะไร ซึ่งหมายความว่า เลือกเรื่องเรียนไม่ถูกด้วย”

ย้อนกลับไปตอน ม.5 เริ่มเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ทุกเย็นที่เดินกลับบ้าน จะเฝ้าถามตัวเองว่า ชีวิตที่เหลือจะทำอะไร บรรยากาศช่วงเย็น แสงไม่ค่อยมี แล้วจะค่อย ๆ มืด รถราก็วิ่งขวักไขว่ ณ เวลานั้น ชวนให้เกิดความรู้สึกยิ่งกว่าคำว่าเบื่อ และไม่รู้จะทำอะไรให้ดีขึ้น ไม่ใช่เบื่อแบบชั่วคราว แต่เป็นแบบค่อย ๆ กัดกร่อนชีวิต ความรู้สึกค่อย ๆ แย่ลง ๆ และตื่นเช้าขึ้นมาแบบตอบตัวเอง ไม่ได้ว่า “จะตื่นขึ้นมาเพื่ออะไร เพราะไม่ได้อยากทำอะไร”

พัฒนาการอีกขั้นของชีวิตคือ เข้าห้องสมุด ซึ่งปกติเป็นคนชอบ เดินเข้าห้องสมุดอยู่แล้ว วันนั้นเป็นวันแรกที่มีความรู้สึกว่าอยากได้คำตอบอะไร สักอย่างหนึ่งที่มันแปลกไปกว่าการอ่านนิตยสาร อ่านหนังสือตลกโปกฮาก็เหลือบไปเห็นหนังสือ “เต๋าที่เล่าแจ้ง” แล้วก็หยิบออกมา

มันมีความรู้สึกเลยนะ เหมือนในหนังเลย แบบที่เป็นอะไร ที่มหัศจรรย์น่ะ เป็นอะไรที่เป็นก้าวแรก เป็นอะไรที่เป็นจุดเริ่มต้นซักอย่างหนึ่ง คืออ่านแล้วเหมือนเราไม่ได้คำตอบหรอก แต่ได้ความชุ่มชื่นใจที่ไม่เคยได้มาก่อน เกิดความรู้สึกว่าจะอ่านอะไรให้มากกว่านี้ เรื่อย ๆ แต่ตอนนั้นก็ยังไม่ได้สนใจเรื่องพระพุทธศาสนา”

ศรันย์บอกว่า เคยไปฝึกสมาธิแบบธรรมสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิแบบอินเดีย เผยแพร่ตามโรงเรียน ซึ่งการทำสมาธิแบบธรรมสมาธินั้น ดีจริง แต่เมื่อไปถึงจุดหนึ่งแล้วจะรู้สึกว่า ไม่พอ มันไม่ได้มีความสุขจริง ๆ

พัฒนาการขั้นต่อมาของเขา คือ ตอนเรียน ม.6 อยู่ ๆ ก็เกิด อยากจะลองวิปัสสนาขึ้นมาเฉย ๆ จึงไปซื้อหนังสือ แล้วปรากฏว่าไปเจอหนังสือ วิธีทำสมาธิและวิปัสสนา ของ พระอาจารย์ธรรมรักษา ราคาเล่มละ 20 บาท แต่มีค่ามาก อ่านแล้วน้ำหูน้ำตาไหล แล้วก็ได้คำตอบกับชีวิตเลยว่า

“ชีวิตที่เหลือจะเอาอย่างนี้........”

ช่วงที่เรียนที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วัน ๆ ก็อยากแต่จะเข้าห้องสมุดอย่างเดียว เหมือนกับใจจริง ๆ จะเข้าแต่ห้องสมุดเพื่อจะไปอ่านหนังสือธรรมะ ตอนนั้นอ่านหมดเลย และที่ชอบที่สุดคือ “พระไตรปิฎกฉบับประชาชน”

“อ่านแล้วรู้สึกเฟรนด์ลี่มาก ๆ บางคนบอกอ่านหนังสือธรรมะแล้วเบื่อ แต่เรารู้สึกว่าเหมือนขนม เวลาที่ได้เข้าห้องสมุดเหมือนเวลา ได้กินขนม......”

ส่วนวิชาทางโลก หลังจากเรียนจบ ศรันย์ทำงานเกม-ดีไซเนอร์ ที่บริษัทซอฟท์แวร์เฮาส์ “ไอโซแฟกส์” เลยได้โอกาสเขียนบทความคอมพิวเตอร์ลงหนังสือไมโครคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงออกจากงานมา เขียนอย่างเดียว ค่าตอบแทนคือ 5,000 บาทต่อเดือน ถัดมาอีก 2-3 ปี ก็มาเขียนหนังสือคอม พิวเตอร์ อาทิ ครบเครื่องเรื่องอินเทอร์เน็ต กะเทาะเปลือกไอซีคิว กะเทาะเปลือกเพิร์ช ซึ่งใช้ชื่อ จริงเขียน


อย่างไรก็ตาม งานเขียนชิ้นแรกของเขาที่ ได้ตีพิมพ์ในหนังสือนั้นเกี่ยวกับ “ธรรมะ” ได้ตีพิมพ์ก่อน บทความคอมพิวเตอร์เสียอีก คือตั้งแต่ตอนอายุ 22 ปี เขียนเรื่อง “ทางนฤพาน” เป็นนิยายแบบรัก ๆ ใคร่ ๆ แต่อิงธรรมะ เป็นตอน ๆ ลงตีพิมพ์ในนิตยสารค้นโลก ตอนนั้นอายุ 22 แต่คนอ่านนึกว่าแก่แล้ว จึงปิดตัวมาก ๆ

ศรันย์เขียนบทความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ประมาณ 5 ปี เขียนบทความมาเรื่อย ๆ สะสมประสบการณ์ แล้วได้เขียนหนังสือ เขียน เรื่องซอฟต์แวร์ฟรีมาตลอด พอเขียนมาระยะหนึ่งก็เลิก “รู้สึกว่าเหมือนไป ส่งเสริมให้คนไปซื้อซอฟต์แวร์เถื่อน จึงไม่ทำ”

ช่วงนั้นก็มีคนมาชวนลงขั นให้ทำ “ทางนฤพาน” เขาจึงกลับมา ทบทวนว่าน่าจะมาเขียนในสิ่งที่ชอบ แล้วไม่ส่งเสริมให้คนทำผิดจะดีกว่า และ น่าจะอยู่ได้ เพราะไม่ได้หวังรวย ซึ่งตอนนั้นเป็นสิ่งที่ต้องเลือก เพราะช่วงนั้นหนังสือคอมพิวเตอร์กำลังเป็นที่ต้องการมาก รายได้ดี แต่การแข่งขันทางหนังสือคอมพิวเตอร์ก็มีสูง และตัวเองก็ไม่ชอบที่จะไปแข่งขันกับใคร ไม่อยากไปรบกับใคร

“ต้องการแค่พอกินพอใช้ จึงตัดสินใจว่าเขียนเกี่ยวกับธรรมะ แจกทางอินเทอร์เน็ตดีกว่า”

พ.ศ. 2533 เป็นปีที่เริ่มเขียนทางนฤพานจริง ๆ จัง ๆ เป็นบทความลงในนิตยสารพ้นโลก แล้วมาเป็นหนังสือเล่มจริง ๆ ตอนอายุ 30 ปี เพราะเพื่อนที่รู้จักกันอยากลงขันพิมพ์ประมาณ 5,000 เล่ม ทั้งแจกทั้งขาย เล่มละ 99 บาท คนก็ชอบเพราะหนังสือเล่มใหญ่ และขายถูก คนเลยกว้านซื้อใช้เวลา 2 เดือนหมด

“ช่วงที่เขียนทางนฤพาน และได้รับการยอมรับทางอินเทอร์เน็ต จึงลงขันไป และคิดว่าจะได้เงินคืน แต่ 3 ปียังไม่ได้คืนเลย ถ้าคนมองเราเมื่อช่วง 2 ปีก่อน คนจะบอกว่านี่มาเขียนหนังสือธรรมะเพราะอยากรวยนะ แต่ที่จริงเขียนฟรีมา 10 กว่าปีด้วยซ้ำ เพราะใจรัก ตั้งใจแค่พอกินพอใช้ ไม่ได้หวังรวยอะไร” ศรันย์กล่าว

ทั้งนี้ ผลงานเขียนหลังจากทางนฤพานของเขาคนนี้มีอาทิ กรรมพยากรณ์ ทั้ง 2 ภาค, เสียดาย...คนตายไม่ได้อ่าน ที่พิมพ์ซ้ำถึง 50 ครั้ง ในช่วง 3 ปี, วิปัสสนานุบาล, มีชีวิตที่คิดไม่ถึง, 7 เดือนบรรลุธรรม ฯลฯ และล่าสุด คือ “เสียดาย...คนตายไม่ได้อ่าน 2”

“ภาคภูมิใจแทนพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบรมครู เราเองเป็นเพียง แค่คนที่มีความปรารถนาดี เป็นสื่อกลางถ่ายทอดปัญญาของพระพุทธเจ้าไปสู่คนเท่านั้น โดยใช้งานเขียนเป็นสื่อกลาง ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่านี้” ...เจ้าของนามปากกา “ดังตฤณ” กล่าวทิ้งท้ายถึงความรู้สึกที่งานเขียนทำให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจธรรมะมากขึ้น.

'มหาสติปัฏฐานสูตร ฉบับสมบูรณ์'

กับงานเขียนหนังสือแนวธรรมะเล่ม ล่าสุดของ “ดังตฤณ-ศรันย์ ไมตรีเวช” คือ “เสียดาย...คนตายไม่ได้อ่าน 2” นั้น ยังมีอีก ชื่อคือ “มหาสติปัฏฐานสูตร ฉบับสมบูรณ์” คือ 2 ชื่อ 2 เล่มนี้จะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เปลี่ยนที่ชื่อเรื่อง ซึ่งศรันย์ บอกว่า คนที่เขาเคยอ่าน มหาสติปัฏฐานสูตร ที่รออยู่ 6 ปี ยังถามหาอยู่ เพราะฉะนั้นกลุ่มคนอ่านนี้จะเป็นกลุ่มที่บอกว่าเล่มนี้คือ มหาสติปัฏฐานสูตร ฉบับสมบูรณ์

และส่วนตัวได้ทำแจกเป็นธรรมทาน ซึ่งได้รวบรวมชื่อ โรงเรียน และเรือนจำทั่วประเทศ สำหรับโรงเรียนมัธยมฯจะเป็น 2,600 แห่ง เรือนจำประมาณ 1,000 แห่ง อันนี้จะเป็นภายใต้ชื่อ “มหาสติปัฏฐานสูตร” ซึ่งทั้งโรงเรียนและเรือนจำจะบริจาคในชื่อ “เสียดาย...คนตายไม่ได้อ่าน 2” ส่วน “มหาสติปัฏฐานสูตร ฉบับสมบูรณ์” จะนำไปถวายพระ และแจกสำหรับคนที่ได้ร่วมบริจาคเงิน ร่วมทำบุญมา

สำหรับเนื้อหาในหนังสือจะเป็นแบบฮาวทู คือทำอย่างไรถึงจะมีสติแบบไม่เป็นทุกข์ และทำอย่างไรถึงจะมีความสุขอันมหัศจรรย์ ซึ่งจะเป็นหัวข้อที่ไม่เฉียดเข้าไปในเรื่องจงมาปฏิบัติธรรม แต่จะอ้างอิงถึงพุทธพจน์ อย่างทำอย่างไรถึงจะมีสติอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้

เนื้อหาในหนังสือจะไม่โฆษณาเรื่องการปฏิบัติธรรม เพียงแต่จูงใจว่าเป็นพุทธพจน์ และเอามาเรียบเรียงด้วยภาษาที่ง่าย คนยุคใหม่ทั่วไปเข้าใจ และคนทั่วไปสามารถที่จะทำได้จริงด้วย โดยไม่จำเป็นต้องไปทำสมาธิ หรือไม่จำเป็นต้องปลีกตัวไปอยู่ที่ไหน

“ใช้เวลาเขียนนาน 6 ปี เป็นหนังสือที่ภูมิใจมากที่สุด ทุ่มเทมากที่สุด และในชีวิตนักเขียนนี้ถือว่าสุดยอดแล้ว ส่วนงานเขียนต่อไปคงจะเป็นการแตกกิ่งก้านสาขาจากความรู้ ความเข้าใจ ออกมาในรูปแบบงานเขียน เล็ก ๆ” เจ้าของนามปากกา “ดังตฤณ” กล่าว.

http://www.dailynews.co.th

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

หน้าหลัก | หลวงปู่กลิ้ง สนฺติภูโต | หลวงพ่อองค์ดำ | วัดเกรียงไกรเหนือ | ติดต่อวัด | ข่าวคิดดี | ห้องภาพคิดดี | สมุดเยี่ยม | เสียงธรรมออนไลน์ | พุทธวิธีชนะความโกรธ | คิริมานนทสูตร | พุทธวิธีคลายโศก | พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน | พลังทิพย์ | ทำไมคนเราจึงต่างกัน | พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร | พระมหากัสสปะ | พระมหาโมคคัลลานะ | อันชนกชนนีนี้รักเจ้า เทียมเท่าชีวาก็ว่าได้ | สมเด็จพระนางพิมพาภิกษุณี | พระอานนท์พุทธอนุชา | พุทธชัยมงคลคาถา | พระคาถาชินบัญชร | บารมี 30 ทัศ | โพชฌงคปริตร | พระคาถาป้องกันภัยทั้งสิบทิศ | พระคาถามงคลจักรวาลทั้งแปดทิศ | พระคาถาเชิญชุมนุมเทวดา | มหาเมตตาครอบจักรวาล | ท่านพ่อสุ่น ธมฺมสุวณฺโณ | หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม | หลวงปู่พุทธอิสระ | ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดเกรียงไกรเหนือ ต.เกรียงไกร อ.เมือง จังหวัดนครสวรรค์ || www.kidsdee.org